ภาษาอังกฤษเสริม

     ป้ายห้าม คือ หนึ่งในสื่อสากลที่ใช้เตือนให้ผู้ที่มองเห็นระมัดระวังอันตรายที่จะเกิดขึ้น หรือ เพื่อบอกกล่าวว่าไม่ควรปฏิบัติสิ่งใดอันอาจจะก่อความเดือนร้อน รำคาญใจแก่ผู้อื่น

โดยส่วนมากแล้ว สัญลักษณ์บนป้ายห้ามจะเป็นภาพที่ใช้กันในมาตรฐานสากลทั่วโลก เพื่อให้เข้าใจตรงกันได้ แต่เพื่อเพิ่มความเข้าใจให้สูงขึ้น จึงมักมีข้อความกำกับอยู่ด้วย ในส่วนนี้จะมีทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ แต่เราจะเลือกนำตัวอย่างที่เป็นภาษาอังกฤษมาให้ได้ชมกัน ดังต่อไปนี้

ตัวอย่าง ป้ายห้ามภาษาอังกฤษ

ป้ายห้ามภาษาอังกฤษ

Smoking Prohibited คือ ห้ามสูบบุหรี่ ซึ่งบางครั้งจะใช้คำว่า No Smoking

No fishing คือ ห้ามตกปลา

No entry , Authorised Persons Only คือ ห้ามเข้า , เฉพาะผู้ได้รับอนุญาติเท่านั้นที่เข้าได้

ตัวอย่างป้ายห้ามภาษาอังกฤษ

Pedestrians Prohibited คือ ห้ามเิดินเข้าไป

Not Drinking Water คือ ไม่ใช่น้ำสำหรับดื่ม , ห้ามดื่ม

No Photography คือ ห้ามถ่ายรูป

No Swimming คือ ห้ามว่ายน้ำ

No Smoking คือ ห้ามสูบบุหรี่

No Eating คือ ห้ามรับประทาน

No forklifts beyond this point คือ ห้ามขับรถยกเข้าไปเกินกว่าบริเวณนี้

No Dogs คือ ห้ามนำสุนัขเข้ามาในพื้นที่

No naked flames คือ ห้ามทำให้เกิดประกายไฟ

No car prohibited คือ ห้ามนำรถเข้ามา

No cycles คือ ห้ามขี่จักรยาน

ทั้งเหมดนี้เป็นแค่ตัวอย่างส่วนหนึ่งของป้ายห้ามที่มีอยู่มากมาย ซึ่งถ้าสังเกตจะพบว่าสัญลักษณ์ของป้ายหลัก ๆ คือ วงกลมสีแดง มีแถบแดงพาดทะแยงลงมา นี่คือความหมายของการห้าม ส่วนรูปที่อยู่ในวงกลมคือ สิ่งที่ถูกห้าม เช่น ถ้าเป็นรูปบุหรี่ ก็คือห้ามสูบบุหรี่เป็นต้น

เมื่อเราเข้าใจความหมายของป้ายเหล่านี้แล้ว จะช่วยให้เราปฏิบัติตามกฏระเบียบของสถานที่ และมีความปลอดภัยในชีวิตมากขึ้น

ป้ายเตือนจราจรภาษาอังกฤษ

ตัวอย่างป้ายจราจร ภาษาอังกฤษที่ควรรู้เพิ่เติม

  1. Crossroads แปลว่า สี่แยก
  2. T- junction แปลว่า แยกตัว T
  3. Side Road คือ มีถนนตัดด้านข้าง
  4. Staggered junction คือ มีทางแยกเหลี่ยมกัน

ป้ายจราจรภาษาอังกฤษ 2

  1. Traffic merges from the left แปลว่า มีทางผสานทางด้านซ้าย
  2. Traffic merges onto main carriageway แปลว่า กำลังเข้าสู่ฝั่งซ้ายของถนนหลัก

สัญลักษณ์ป้ายจราจรภาษาอังกฤษ

  1. Reduce Speed Now แปลว่า ลดความเร็วเดี๋ยวนี้
  2. Road narrows on both sides แปลว่า ถนนแคบลงทั้งสองข้าง
  3. Road narrows on right แปลว่า ถนนทางฝั่งขวาแคบลง

ภาพป้ายจราจรภาษาอังกฤษ

  1. Tunnel คือ อุโมง
  2. Hump Bridge คือ สะพานยกระดับ
  3. Uneven Road แปลว่า ถนนขรุขะ
  4. Slippery road แปลว่า ถนนลื่น

แปลป้ายจราจรภาษาอังกฤษ

กรณีที่เป็นป้ายวงกลม จะเป็นป้ายห้าม ไม่ว่าจะมีแถบสีแดงคาดหรือไม่ก็ตาม ให้จำไว้เช่นนี้

  1. No overtaking แปลว่า ห้ามแซง
  2. No U-turn แปลว่า ห้ามกลับรถ
  3. No right turn คือ ห้ามเลี้ยวขวา
  4. No left turn คือ ห้ามเลี้ยวซ้าย

ทั้งหมดที่ผ่านมา คือ ตัวอย่างป้ายจราจรในภาษาอังกฤษ ซึ่งหากเราทราบความหมายของสัญลักษณ์แต่ละแบบ ก็สามารถที่จะนำไปอธิบายเรื่องการบอกทางให้ชาวต่างชาติได้ อีกทั้งบางท่านอาจจะต้องขับรถไปต่างประเทศ หากเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ป้ายจราจรก็จะช่วยให้ขับขี่ได้อย่างถูกต้อง

ป้ายจราจร (Traffic signs)

โดยทั่วไปประเภทของป้ายจราจรจะแบ่งได้ดังนี้

     1. WARNING SIGNS คือ ป้ายเตือน ทำหน้าที่บอกกล่าวแจ้งเตือนให้ทราบ เช่น ระวังถนนลื่น เป็นต้น

สีของป้ายเตือนจะเป็นพื้นเหลือง อักษรหรือสัญลักษณ์สีดำ

     2. REGULATION SIGNS คือ ป้ายบังคับให้ทำตาม โดยมากเป็นป้ายที่มีสีแดงเข้ามาเกี่ยวข้องเช่นวงกลมสีแดง พื้นหลังสีแดง

      3. DESTINATION SIGNS หรือ Guide SIGNS คือ ป้ายบอกทางข้างหน้า เป็นป้ายสีเขียว เขียนบอกว่าข้างหน้ามีทางไปยังสถานที่ใดบ้าง

     4. SERVICE SIGNS ป้ายสีน้ำเงิน อักษรสีขาว เป็นป้ายบอกสถานที่สำคัญ หรือ จุดบริการต่าง ๆ เช่น ปั้มน้ำมัน เป้นต้น

ตัวอย่างป้ายจราจรภาษาอังกฤษ

ป้ายจราจรภาษาอังกฤษ

ภาพป้ายจราจรภาษาอังกฤษ

ป้ายจราจรภาษาอังกฤษ

 

และทั้งหมด คือ ป้ายจราจรที่เราสามารถพบเห็นได้เป็นประจำขณะขับรถ เรียนรู้ความหมายกันไปครบหมดแล้ว

organization chart

An organizational chart (often called organization chart, org chart, organigram(me), or organogram) is a diagram that shows thestructure of an organization and the relationships and relative ranks of its parts and positions/jobs. The term is also used for similar diagrams, for example ones showing the different elements of a field of knowledge or a group of languages.

Overview

The organization chart is a diagram showing graphically the relation of one official to another, or others, of a company. It is also used to show the relation of one department to another, or others, or of one function of an organization to another, or others. This chart is valuable in that it enables one to visualize a complete organization, by means of the picture it presents.

A company’s organizational chart typically illustrates relations between people within an organization. Such relations might include managers to sub-workers, directors to managing directors, chief executive officer to various departments, and so forth. When an organization chart grows too large it can be split into smaller charts for separate departments within the organization. The different types of organization charts include:

There is no accepted form for making organization charts other than putting the principal official, department or function first, or at the head of the sheet, and the others below, in the order of their rank. The titles of officials and sometimes their names are enclosed in boxes or circles. Lines are generally drawn from one box or circle to another to show the relation of one official or department to the others.

การเขียนจดหมายและอีเมล

นี่เป็นวลีและความคิดเห็นที่คุณอาจพบว่ามีประโยชน์เมื่อเขียนจดหมายและอีเมลเป็นภาษาอังกฤษ

  • การเขียนจดหมายแบบไม่เป็นทางการ

เริ่มจดหมายของคุณโดยใช้คำว่า Dear ต่อด้วยชื่อของบุคคลซึ่งคุณเขียนถึง ตัวอย่างเช่น

Dear Mark, สวัสดีมาร์ค
Dear Jane, สวัสดีเจน

นี่เป็นบางสิ่งที่คุณอาจพูด

Thanks for your … ขอบคุณสำหรับ…ของคุณ
letter จดหมาย
postcard ไปรษณียบัตร
present ของขวัญ
invitation คำเชิญ
Sorry it’s taken me so long to write. ขอโทษที่ใช้เวลานานกว่าจะตอบกลับ
I hope you’re well. ฉันหวังว่าคุณจะสบายดี
Good to see you again last week. ดีใจที่ได้เจอคุณอีกสัปดาห์ที่แล้ว
Look forward to seeing you soon! หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้พบคุณเร็ว ๆ นี้!

นี่เป็นตัวอย่างการลงท้ายจดหมายแบบไม่เป็นทางการ

Best wishes, ด้วยความปรารถนาดี
Kind regards, ด้วยความปรารถนาดี

ถ้าเขียนจดหมายถึงสมาชิกในครอบครัว คู่หู หรือเพื่อนสนิท คุณสามารถลงท้ายจดหมายด้วยคำต่อไปนี้

Love, รัก

ลงท้ายด้วยชื่อของคุณ

  • การเขียนอีเมล

การเขียนอีเมล ไม่ว่าจะสำหรับธุรกิจหรือเหตุผลทางสังคม โดยปกติจะเขียนแบบไม่เป็นทางการมากกว่าการเขียนจดหมาย

อีเมลคุณควรมีหัวเรื่องที่สรุปเป้าหมายของการเขียนนั้น 2-3 คำ

การเริ่มอีเมลธุรกิจนั้นต่างกันไป แม้ว่าโดยปกติจะเริ่มด้วยชื่อสำหรับทั้งอีเมลธุรกิจและอีเมลส่วนตัว หากคุณรู้จักผู้รับ

ไม่จำเป็นต้องใช้คำว่า Dear แม้ว่าบางคนชอบที่จะใช้มากกว่า

หากพูดโดยทั่วไปแล้ว เนื้อหาของอีเมลธุรกิจควรสั้นและตรงประเด็น

หากคุณมีเอกสารแนบ ตรวจให้แน่ใจว่าคุณกล่าวถึงเอกสารดังกล่าวในข้อความในอีเมลของคุณด้วย

ในการลงท้ายอีเมลส่วนตัว คุณสามารถใช้สำนวนเดียวกับจดหมายไม่เป็นทางการ

ความนิยมในการท้ายอีเมลธุรกิจต่างกันไป แต่ต่อไปนี้คือวลีที่เหมาะสม

Regards, ขอแสดงความนับถือ
Kind regards, ขอแสดงความนับถือ
Best regards, ขอแสดงความนับถือ
With kind regards, ด้วยความเคารพอย่างสูง

ในอีเมลธุรกิจ คุณยังควรจะใส่ชื่อเต็มของคุณ องค์กรและข้อมูลติดต่อไว้ท้ายอีเมลด้วย

หลักการเขียนจดหมายภาษาอังกฤษ

ในบทเรียนนี้จะสอนถึงหลักของการเขียนจดหมายภาษาอังกฤษ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การเขียนจดหมายธรรมดา ตลอดจนยังสามารถนำไปใช้ในการส่งอีเมล์ได้อีกด้วยเช่นกัน

  • เขียนจดหมาย

สิ่งที่ผู้เขียนต้องระวังมากที่สุดในการเขียนจดหมายภาษาอังกฤษ คือรูปแบบจดหมายและภาษาที่ใช้ในการเขียนจดหมายซึ่งภาษาที่ใช้เขียนจดหมายรวมทั้งรูปแบบจดหมายจะมี 2 อย่างคือ

แบบเป็นทางการ (formal) และ แบบไม่เป็นทางการ (informal)

ถ้าเขียนจดหมายแบบเป็น ทางการภาษาที่ใช้รวมทั้งรูปแบบจดหมายก็ต้องใช้แบบเป็นทางการแต่ถ้าเขียนจดหมายแบบไม่เป็นทางการ จะใช้ภาษาและรูปแบบจดหมายง่ายๆ สบายๆ

จดหมายที่เป็นทางการ (formal letter) เช่น จดหมายธุรกิจ (business letter) หรือจดหมายสมัครงาน (application for a job) จะต้องประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

     1. Return address คือที่อยู่ของผู้เขียนจดหมายซึ่งจะวางไว้มุมขวามือด้านบนของจดหมายโดยที่อยู่ของผู้เขียนจดหมายจะประกอบด้วยหมายเลขที่บ้าน ชื่อถนน ชื่อเมือง ชื่อรัฐ และรหัสไปรษณีย์ อาจจะใส่ comma (,) ทุกท้ายบรรทัดและใส่ full stop (.) ที่บรรทัดสุดท้ายก็ได้ แต่ไม่เป็นที่นิยมนักและที่สำคัญห้ามเขียนชื่อผู้เขียนจดหมายไว้ที่return address

ตัวอย่าง
19/1 สำหรับผู้รักสัตว์เกษมถนน
เขตหนองแขม
กรุงเทพฯ 10160

80 กรีนถนน
มอสลีย์
เบอร์มิงแฮม
B13 9 PL

9 Britannia ถนน
IL ฟอร์ดเอสเซ็กซ์
Ig1 2EQ สหราชอาณาจักร

     2. Date คือวันที่ๆ เขียนจดหมายซึ่งสามารถวางไว้ได้หลายที่ เช่น วางdate ไว้ใต้ return address หรือวาง date ไว้ใต้ชื่อที่พิมพ์ไว้ด้านล่างของจดหมาย

การเขียนวันที่มีด้วยกัน 2 แบบคือ แบบอเมริกันและแบบทั่วไป โดยการเขียนวันที่แบบอเมริกันจะวางเดือนไว้หน้าวัน

ตัวอย่าง
เดือน / วัน / ปี
12 มีนาคม 1998
10 มกราคม 1990
12/6/95 = 6 ธันวาคม 1995
10/4/96 = 4 ตุลาคม 1996

อีกอย่างเป็นการเขียนวันที่แบบทั่วไป ซึ่งจะวางวันที่ (day) ไว้หน้าเดือน Day/month/year
12 march, 1992
10 April, 1994
5 January, 1998
12/6/95 = 12 June, 1995
10/4/96 = 10 April, 1996

หมายเหตุ: การเขียนวันที่ทำได้หลายแบบ เช่น
‘12.3.98’
‘12/3/98’
‘12 March 98’
‘March 12th, 1998’
‘March 12, 1998’

      3. Inside address คือ ชื่อและที่อยู่ของผู้รับ โดยจะเขียนชื่อและที่อยู่ของผู้รับไว้ด้านซ้ายมือ ซึ่งอาจจะวางไว้บรรทัดเดียวกันกับวันที่ที่อยู่ด้านขวามือ หรือวางไว้ต่ำกว่าวันที่ก็ได้ inside address จะประกอบด้วย

ชื่อผู้รับ (title – name-last name)
ตำแหน่งงาน (job title)
ชื่อบริษัท (company name)
ชื่อถนน (street name)
ชื่อเมือง (city name)
รหัสไปรษณีย์ (zip code)

ตัวอย่าง
นาย รอยอีแวนส์
รองประธานฝ่ายปฏิบัติการ
บริการระหว่างการศึกษา
1/12 ถนนเพชรบุรี
กรุงเทพฯ 10400

นาย RC Bushill
ผู้จัดการส่วนตัว
IWAKI (อังกฤษ) Co. , Ltd.
9 Britannia ถนน
Ilford เอสเซ็กซ์
Ig1 2EQ สหราชอาณาจักร

  • หมายเหตุ:

1. inside address จะใช้กับจดหมายที่เป็นทางการโดยเฉพาะจดหมายธุรกิจ
2. ในกรณีที่ส่งจดหมายสมัครงานถึงบริษัท ถ้าไม่ทราบชื่อผู้รับก็ให้ใส่เฉพาะตำแหน่งงาน

4. Greeting คือคำขึ้นต้นจดหมาย ซึ่งเป็นการทักทายถ้าเป็นการเขียน
จดหมายแบบเป็นทางการ greeting จะอยู่ในรูป Dear + title + last name
(กรณีที่รู้ชื่อผู้รับ)

ตัวอย่าง
รักนายแมกซ์เวล:
รักนาย Komai:
เรียนนางสาวสตีเฟนสัน:
รักนาง Bushill:

กรณีที่ไม่ทราบชื่อผู้รับและไม่ทราบด้วยว่าเป็นเพศหญิงหรือชาย greeting จะอยู่ในรูป

ถึงคุณหรือคุณนาย

กรณีที่เขียนจดหมายแบบไม่เป็นทางการ greeting จะอยู่ในรูป

เรียน + ชื่อหรือเรียน + ชื่อ

ตัวอย่าง
Dear John, เรียนลัดดา,
รักแม่รักคุณปู่
เพื่อนเรียนของฉันรักสุพจน์,

ถ้าเริ่มต้นจดหมายด้วยการใช้ตำแหน่งและนามสกุล (title and surname) ของบุคคล เช่น ‘Dear Mr. Suriya’ เวลาลงท้ายจดหมายให้ใช้ ‘Yours Sincerely’ ถ้าใช้ ‘yours’ จะเป็นทางการน้อยกว่าอันแรก ถ้าเริ่มต้นจดหมายด้วย ‘Dear Sirs’ ให้ลงท้ายจดหมายด้วย ‘Yours faithfully’ ถ้าเป็นจดหมายส่วนตัวมักจะลงท้ายด้วย ‘Yours’ หรือ ‘Love

  • หมายเหตุ :

1. ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน มักลงท้ายจดหมายด้วย ‘Sincerely Yours’ หรือ ‘Very truly yours’
2. การเขียนจดหมายแบบอเมริกันมักใส่ colon (:) หลัง Dear… (Dear Mr. John:) ส่วนการเขียนจดหมายแบบอังกฤษจะใส่ comma หรือไม่ใส่อะไรเลย (Dear Mr. John, หรือ Dear Mr. John)

5. Body คือ ตัวจดหมายหรือเนื้อหาของจดหมาย ซึ่งจะบอกถึงวัตถุประสงค์ของการเขียนจดหมาย เนื้อหาของจดหมายจะมีความสำคัญมากกว่าส่วนอื่นๆ ของจดหมาย โดยปกติแล้ว ตัวหรือเนื้อหาจดหมายจะประกอบด้วย 4 ส่วนด้วยกัน

1. Opening คือ ส่วนที่พูดถึงเหตุผลว่าทำไมจึงเขียนจดหมาย
2. Purpose คือ ส่วนที่บอกถึงเป้าหมายที่เขียนจดหมายซึ่งเป็นการจัดหารายละเอียดของสิ่งที่กำลังเขียนว่าที่เขียนมามีเป้าหมายอะไร
3. Action คือ ส่วนที่บอกว่าจะดำเนินการอย่างไรหรือจะทำอะไรเป็นลำดับต่อไป
4. Polite Expression คือ ส่วนที่กล่าวขอบคุณผู้อ่าน

6. Closing คือ คำลงท้ายจดหมายซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือแบบเป็นทางการ (formal) และแบบไม่เป็นทางการ (informal) ถ้าไม่รู้ชื่อผู้รับหรือเมื่อใช้ชื่อสกุลของผู้รับในการทักทาย (greeting) คำลงท้ายจะใช้แบบเป็นทางการหรือแบบ Standard ก็ได้ แต่ถ้าใช้ชื่อแรกของผู้รับในการทักทาย คำลงท้ายจะใช้แบบไม่เป็นทางการ ต่อไปนี้เป็นคำขึ้นต้น (ทักทาย) และคำลงท้าย ทั้ง 3 แบบ

Formal (เป็นทางการ)
คำทักทาย                   คำลงท้าย
Dear Sir or Madam :     Yours very truly,

ขอแสดงความนับถือ
มากขอแสดงความนับถือ
มากขอแสดงความนับถือ
ขอแสดงความนับถือ

Standard
คำทักทาย                  คำลงท้าย
Dear Mr.Tom :              Sincerely,
Yours sincerely,
Cordially yours,

Informal (ไม่เป็นทางการ)
คำทักทาย                 คำลงท้าย
Dear Joe,                       Sincerely,
Sincerely yours,
Cordially,
Yours truly,

  • หมายเหตุ : คำลงท้ายจดหมายนอกจากที่กล่าวแล้วยังมีคำว่า ‘love’ ซึ่งถ้าเป็นผู้หญิงใช้ ก็จะใช้ในการเขียนจดหมายส่วนตัว ถ้าเป็นผู้ชายใช้ก็จะใช้กับเพื่อนหญิงที่สนิทมากๆ หรือใช้กับญาติพี่น้อง คำว่า ‘yours’, ‘Best wishes’ และ ‘All the best’ ถ้าผู้ชายใช้จะใช้คำเหล่านี้ในการเขียนจดหมายส่วนตัว ถ้าเป็นผู้หญิงใช้ก็จะใช้ในการเขียนจดหมายถึงคนที่ตัวเองไม่ได้ชอบพอเป็นพิเศษส่วนคำว่า ‘lots of love’ ใช้ได้ทั้งชายและหญิง เมื่อเขียนจดหมายถึงเพศตรงข้ามที่ตัวเองชอบ (รัก) มากๆ(ชายเขียนถึงชายด้วยกันไม่ค่อยใช้คำนี้เพราะใช้ในเชิงชู้สาว)

     7. Signature/Typed name คือ การเซ็นชื่อผู้เขียนที่ท้ายจดหมาย ถ้า จดหมายที่เป็นทางการจะมีชื่อที่พิมพ์และมีลายเซ็นด้วย ส่วนจดหมายส่วนตัวจะมีเพียงลายเซ็นหรือชื่อที่เขียน (ไม่ได้พิมพ์ชื่อ)

     8. Envelope คือ การจ่าหน้าซองจดหมายโดยให้เขียนชื่อ นามสกุล และที่อยู่ให้ชัดเจน การจ่าหน้าซองจดหมายจะมี 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นชื่อที่อยู่ของผู้รับ และส่วนที่เป็นชื่อที่อยู่ของผู้ส่งซึ่งทั้ง 2 ส่วนคล้ายกับ return address และ inside address

ส่วนต่างๆ ของจดหมาย
Return address

วันที่

ที่อยู่ภายใน

คำอวยพร

ร่างกาย

ปิด

ลายเซ็น

ชื่อพิมพ์

  • หมายเหตุ : ถ้ามีสิ่งที่ส่งมาด้วยให้ใส่ enclosure ถัดจาก Typed Name

จดหมายสมัครงาน
18/2 Pet-kasem Road
Nong Khaem
Bangkok 10160

20 มีนาคม 1998

Mr.Supot Suton
Himan ทรัพยากรกรรมการ
นานา บริษัท คอมพิวเตอร์
19/1 ถนนเพชรบุรี
ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400

Mr.Suton เรียน

ฉันกำลังสมัครงานตำแหน่งเลขานุการซึ่งได้รับการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ของ 10 มีนาคม
ผมได้แนบประวัติส่วนตัวของฉันและฉันต้องการที่จะกำหนดเวลาการสัมภาษณ์.
ผมจะโทรหาคุณในช่วงต้นสัปดาห์ถัดไป.
ฉันหวังว่าจะพูดคุยกับตำแหน่งนี้ เธอ.

ขอแสดงความนับถือ,

ญี่ปุ่น NICK

จดหมายสอบถาม
18/2 สำหรับผู้รักสัตว์เกษมถนน
เขตหนองแขม
กรุงเทพฯ 10160

16 มกราคม 1998 1

ผู้จัดการส่วนตัว
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มหาวิทยาลัย
19/1 สัตว์เลี้ยง – ถนนเพชรเกษม
เขตหนองแขมกรุงเทพฯ 10160

ถึงคุณหรือคุณนาย :

ฉันควรจะขอบคุณถ้าคุณจะส่งข้อมูลเกี่ยวกับกฎระเบียบสำหรับการเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มหาวิทยาลัย นอกจากนี้คุณยังสามารถบอกฉันว่ามหาวิทยาลัยจัดที่พักสำหรับนักเรียน?

ขอแสดงความนับถือ

ธน TONGYAI

  • หมายเหตุ : ถ้ากระดาษเขียนจดหมายมีชื่อที่อยู่ของบริษัทพิมพ์ไว้แล้ว ผู้เขียนไม่ต้องเขียน return address ซํ้าอีกเพียงใส่วันที่ก็พอ

Envelopes คือ ซองจดหมาย ในส่วนนี้จะพูดถึงการจ่าหน้าซองจดหมายการจ่าหน้าซองจดหมาย จะประกอบด้วยเนื้อหา 2 ส่วน คือ ชื่อที่อยู่ของผู้รับจดหมาย และชื่อที่อยู่ของผู้ส่งจดหมาย

ชื่อ-ที่อยู่ของผู้รับ จะประกอบด้วย
Title + First Name (หรือชื่อย่อ) + Last name
Job Title (ตำแหน่งงาน)
Company Name (ชื่อบริษัท)
Street Number + street Name (เลขที่และชื่อถนน)
City (เมือง) + Post Code (รหัสไปรษณีย์)

ชื่อ – ที่อยู่ของผู้ส่ง จะประกอบด้วย
First Name (หรือชื่อย่อ) Last Name
House number + Street
City + Post Code

ตัวอย่างการจ่าหน้าซองจดหมาย
South-East Asia university
19/1 Pet – Kasem Road
Nong Khaem
Bangkok 10160
Mr.Somchai Treetong
Director of Marketing
Sopa Printing Company
128/2 Phiboonsongkram Road
Muang, Nonthaburi 11000

  • หมายเหตุ :

1. ถ้าเป็นจดหมายที่เป็นทางการการจ่าหน้าซองจะใช้พิมพ์ (พิมพ์ดีดหรือพิมพ์ computer)
2. ถ้าเป็นจดหมายจากหน่วยงานของบริษัทชื่อและที่อยู่ของบริษัทจะพิมพ์ไว้ก่อนแล้ว
3. ถ้าเขียนจดหมายถึงคนที่พักอาศัยอยู่บ้านของคนอื่น (เป็นการพักชั่วคราว) ให้เขียนชื่อผู้รับจดหมายก่อน(ผู้ที่ไปพักอาศัย) แล้วบรรทัดถัดไปให้เขียน C/O(care of) ไว้หน้าชื่อของเจ้าของสถานที่ เช่น ถ้าจะส่งจดหมายไปหาคุณภาณุวัฒน์ ที่ไปพักอยู่กับคุณจำปาเป็นการชั่าคราว จะต้องเขียนจดหมายถึงคุณจำปาเพื่อฝากต่อให้คุณภาณุวัฒน์ โดยเขียนชื่อคุณภาณุวัฒน์ไว้บรรทัดแรกและเขียน C/O + ชื่อคุณจำปา ไว้บรรทัดที่ 2 เช่น

นาย Panuwat Kanyanok
C / O นาย Jumpa Dongyen
28/2 ถนนวิทยุ
เขตปทุมวันกรุงเทพฯ 10330

วิธีการกรอกใบสมัครงานภาษาอังกฤษ

วิธีการกรอกใบสมัครงาน

ใบสมัครงานที่ผู้สมัครต้องกรอกตอนที่ไปสมัครงานตามบริษัท ห้างร้านต่าง ๆ นั้น จะมีลักษณะ ต่างๆกันในแต่ละแห่ง แต่โดยส่วนรวมแล้วมักจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันแทบทุกแห่ง โดยมีรายละเอียดการกรอกดังนี้

 

 

 

  • วิธีการกรอกใบสมัครงานภาษาอังกฤษ

1. หลักการเบื้อต้น (How to complete an application form)

     1.1 ทำความเข้าใจกฎเกณฑ์ของใบสมัคร (Read clear what the procedures are) เช่น ให้เขียนหรือพิมพ หรือข้อความตอนใดที่ต้องเขียนด้วยอักษรตัวพิมพ์

     1.2 ตอบคำถามในใบสมัครให้ครบถ้วน (Complete all questions) ข้อความใดที่ไม่ต้องการก็ให้ทำเครื่องหมายหรือใส่ข้อความลงไป

     1.3 กรอกใบสมัครให้ดูน่าสนใจที่สุด (Make it clean, clear,accurate interesting, and wellpresented) หมายถึงเขียนให้สะอาดเรียบร้อยและเลือกเฉพาะประเด็นที่น่าสนใจมากที่สุด

     1.4 เตรียมคำถามที่อาจถูกถามจากการกรอก (Prepare to be questioned about what you filled in) เป็นการเตรียมคำอธิบายว่าสิ่งที่เรากรอกลงไปนั้น ถ้าต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมจะอธิบายเพิ่มเติมได้อย่างไร

     1.5 กรอกใบสมัครให้เสร็จโดยเร็วและรีบส่งทันที (Complete and submit an application assoon as possible).

 

2.การกรอกประวัติส่วนตัว (Personal Details)

      2.1 การเขียนชื่อ
เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งชื่อ (Name) และนามสกุล (Last Name / Surname) โดยใส่คำนำหน้าชื่อด้วย เช่น Mr. , Mrs. , Miss. , Ms. , บางแห่งจะให้เขียนทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

ตัวอย่าง

ชื่อ: นายสมบัติ RAKDI (อังกฤษ)

NAME : นายสมบัติ รักดี (THAI)

     2.2 การเขียนที่อยู่ (Address) ควรเขียนให้ละเอียด การเขียนชื่อทางภูมิศาสตร์(Geographical name) นั้นสามารถเขียนทับศัพท์ได้เลย เช่น

Soi (ซอย)13- Thanon (ถนน-แต่คำว่าถนนสามารถใช้คำว่า Road แทนได้เพราะเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป) Amphoe / khet (อำเภอ / เขต) Changwat (จังหวัด จะเขียนนํหน้าชื่อหรือ ไม่ก็ได้ เพราะชื่อจงัหวัดต่าง ๆ เป็นที่รู้จักกันดีแล้ว) และอย่าลืมใส่รหัสไปรษณีย์ตัวอย่าง
Present Address 622/151 Soi Suan Luang, Charansanitwong Rd., Khet Bangkoknoi, Bangkok 10700

– การเขียนที่อยู่ในบางครั้งจะมีช่องสำหรับกรอก 2 ช่องคือ

  1. Home Address / Present Residence(ที่อยู่บ้าน) หรืออาจใช้ Permanent Address ที่อยู่ถาวร คือที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน
  2. Mailing Address หมายถึงที่อยู่ที่ต้องการให้ติดต่อทางไปรษณีย์

**กรณีที่สถานที่อยู่เป็นสถานที่เดียวกันทั้งสองช่อง ผู้สมัครไม่จำเป็นต้องเขียนข้อความซ้ำกันควรเขียนว่า As above หรือ Same as above หมายถึงที่อยู่เหมือนกับสถานที่อยู่ข้างต้น

     2.3 สถานภาพทางการสมรส (Marital Status) และข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ(Personal Data)

ผู้สมัครต้องกาเครื่องหมาย / ลงหน้าช่องที่เว้นไว้

ตัวอย่าง

  • Single (โสด)
  • Married (แต่งงานแล้ว)
  • Widowed (เป็นหม้าย)
  • Married with no children (แต่งงานแล้วแต่ยังไม่มีบุตร)
  • Divorced (หย่า) Separated (แยกทางกัน)

– ในกรณีที่แต่งงานแล้ว จะต้องกรอก

Marriage Cert. No .. (หมายเลขใบทะเบียนสมรส)

Issued at . (ออกให้ที่อำเภอ หรือเขต)

Dated Issued (วัน เดือน ปีที่ออกใบทะเบียนสมรส )

Spouse (ชื่อคู่สมรส)

  • Birthdate (วัน เดือน ปีเกิด) เช่น May 1, 1970
  • Birthplace / Nataive Place (สถานที่เกิด) ให้เขียนชื่อจังหวัดที่เกิด เช่น Pattani
  • ID Card No. (เลขประจำตัวบัตรประชาชน) เช่น 2 9099 00050 11 6
  • Issued at (สถานที่ออกบัตร) เช่น Amphoe Panare, Pattani
  • Date Issued / Dated (วันที่ออกบัตร) เช่น October 12, 1990
  • Expiry date / Valid Until (วันที่บัตรหมดอายุ) เช่น October 11, 1996
  • Religion (ศาสนา) เช่น Buddhism / Islam / Catholic / Protestant
  • Taxpayers No. (หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี)
  • Social Security No. (เลขประจำตัวบัตรประกันสังคม)

     2.4 สถานภาพทางการทหาร (Military Status) มี 3 สถานภาพคือ

  • Serving หมายถึง การอยู่ในระหว่างรับราชการทหาร เช่น กำลังอยู่ในภาวะเป็นทหารเกณฑ์
  • Completed หมายถึง ผ่านการเกณฑ์ทหารมาแล้วโดยการเป็นทหารเกณฑ์
  • Exempted หมายถึง ได้รับการยกเว้นโดยการเรียน ร.ด.จบหลักสูตร หรือจับฉลากได้ใบดำ หรือร่างกายไม่ได้ขนาด หรือกำลังเป็นนักศึกษา

ในบางครั้งเราต้องบอกเหตุผลของการได้รับการยกเว้นว่าเป็นเพราะอะไร (With reason) สามารถบอกได้หลายวิธี เช่น

  • Finished Reserved Officers Training Corps Course (R.O.T.C.) (สำเร็จหลักสูตรรักษาดินแดน) หรือจะใช้ว่า
  • Finished Military Service Training of Territorial Defence Course (สำเร็จหลักสูตรรักษาดินแดน
  • Reserved Status หรือ Reservist (ทหารกองหนุน)
  • Registered Status หรือ Registrant (ทหารกองเกิน)
  • Exempted through Military Drawing Ballot (ผ่านการเกณฑ์ทหาร เพราะจับฉลากได้ใบดำ)
  • Exempted by Being Undersize (เพราะร่างกายไม่ได้ขนาด)

by physical disability (เพราะจุดบกพร่องของร่างกาย)
by being a student (เพราะเป็นนักศึกษา)

ตัวอย่าง

หากคุณมีสิทธิ์ได้รับราชการทหารของรัฐไม่ว่าจะเป็นการให้บริการเสร็จสมบูรณ์หรือได้รับการยกเว้น
(มีเหตุผล) ได้รับการยกเว้นกับ ROTC

หรือบางครั้งจะมีคำถามกว้าง ๆ เราก็เลือกตอบได้ เช่น

State your military service No Military Service Obligation
(พ้นพันธะทางทหาร)

**หมายเหตุ ศัพท์ภาษอังกฤษ การเกณฑ์ทหาร แบบอังกฤษจะใช้ว่า Drafting (Drafted) ส่วนแบบอเมริกันจะใช้ว่า Conscription (Conscripted)

ตัวอย่าง

If you are under the military age, indicate when your conscription is die, ..
(ถ้าคุณมีอายุไม่ถึงการเกณฑ์ทหาร ให้ระบุเวลาที่ถึงกำหนดต้องเกณฑ์ทหาร)

      2.5 สุขภาพ (Health Conditions) ส่วนใหญ่จะถามถึงสุขภาพและโรคประจำตัวหรือการได้รับอุบัติเหตุว่าเป็นอย่างไร คำศัพท์ที่ถามเกี่ยวกับโรคภัย ได้แก่

  • Physical disabilities or defects – ข้อบกพร่องทางร่างกาย
  • Handicap – ความพิการ
  • Chronic disease – โรคติดต่อ
  • Serious mental illness – การเจ็บป่วยทางจิต
  • Serious physical illness – การเจ็บป่วยทางกาย
  • Colour blindness – โรคตาบอดสี

ช่องเกี่ยวกับสุขภาพเรามักจะตอบว่า ไม่เคยเป็นโรค หรืออาการเจ็บป่วยเพราะฉะนั้นเราจึงไม่ตอบโดยวิธีเขียนว่า N/A (Not Applicable) หมายถึง ไม่กรอกข้อความหรือไม่มีข้อมูล

ตัวอย่าง

ความพิการทางร่างกายหรือแต้มต่อหรือโรคเรื้อรัง (เช่นมองเห็นการได้ยินการพูดการตาบอดสีอ่อนแอหัวใจ)

N / A

     2.6 รายละเอียดเกี่ยวกับครอบครัว (Family Details) ในใบสมัครจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับ ชื่อบิดา-มารดา พี่-น้อง และจุดที่สำคัญคือ อาชีพของแต่ละคน คำศัพท์ที่ใช้กรอกในช่องอาชีพ(Occupation) มีดังนี้

  • Civil Servant (Government Official) ข้าราชการพลเรือน
  • Retired Government Official ข้าราชการบำนาญ
  • Officer รับราชการ (ทหาร ยศร้อยตรีขึ้นไป)
  • Sub Lieutenant ร้อยตรี (Sub. Lt.)
  • Lieutenant ร้อยโท (Lt.)
  • Army Captain ร้อยเอก (Army Capt.)
  • Soldier รับราชการ (ทหาร ยศต่ำกว่าร้อยตรี)
  • Sergeant Major First Class จ่านายสิบเอก (จ.ส.อ.)
  • Sergeant Major Second Class จ่าสิบโท (จ.ส.ท. )
  • Sergeant Major Third Class จ่านายสิบตรี (จ.ส.ต.)
  • Sergeant สิบเอก (ส.อ.)
  • Self-Employed หรือ Own Business ทำงานส่วนตัว
  • State Enterprise Employee พนักงานรัฐวิสาหกิจ
  • Employee ลูกจ้าง
  • Trader ค้าขาย

ในกรณีที่ทำงานในอาชีพที่มีเกียรติ หรืออาชีพที่ใช้ความรู้ทางวิชาการ หรืออาชีพที่รู้จักกันกว้างขวางในสังคม หรือ ได้รับการยอมรบั จากสังคม(Profession) เราอาจจะใส่ชื่ออาชีพนั้น ๆ ไปก็ได เช่น นายแพทย์ (Doctor) ทนายความ (Lawyer) ครู-อาจารย์ (Instructor) วิศวกร (Engineer) เป็นต้น

 

3.การกรอกประวัติการศึกษา (Educational Background)

     3.1 ระดับประถมศึกษา (Educational Level)

  • Primary (ระดับประถมศึกษา)
  • Secondary (ระดับมัธยมศึกษา)
  • Vocational / Technical (ระดับอาชีวะ หรือวิชาชีพ)
  • College (ระดับวิทยาลัย)
  • University (ระดับมหาวิทยาลัย)


3.2 วุฒิการศึกษา
(Degree / Certificate)

  • Certificate, Diploma ประกาศนียบัตร
  • High School Certificate ประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • Certificate of Technical Vocation ประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.)
  • Certificate of Vocational Education (Cert. Of Voc.Ed.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) หรือ
  • Vocational Certificate (Voc. Cert.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
  • Diploma / High vocational Certificate (Dip. / High Voc. Cert.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
  • Bachelor of Science (B. Sc.) ปริญญาตรีทางด้านวิทยาศาสตร์
  • Bachelor of Engineering (B.Eng.) ปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์
  • Bachelor of Industrial Technology (B.Ind.Tech.)ปริญญาตรีด้านอุตสาหกรรมศาสตร์
  • Bachelor of Accountancy (B.Acct.) ปริญญาตรีด้านบัญชี
  • Bachelor of Business Administration (B.BA.) ปริญญาตรีด้านบริหารธุรกิจ

หลังคุณวุฒิการศึกษาควรที่จะใส่สาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษาโดยเติมคำว่า in หรืออยู่ในวงเล็บ และ ตามด้วยสาขาวิชา เช่น

  • Auto Mechanics ช่างยนต์
  • Machine Shop Mechanics ช่างกลโรงงาน
  • Mechanical Technology ช่างยนต์
  • Electrical Engineering วิศวกรรมไฟฟ้า
  • Building Construction ช่างก่อสร้าง
  • Mechanical Engineering วิศวกรรมเครื่องกล
  • Civil Construction ช่างก่อสร้าง / ช่างโยธา
  • Electronics Engineering วิศวกรรมอิเล็อนิกส์
  • Electrical Power Technology ช่างไฟฟ้ากำลัง
  • Civil Engineerin วิศวกรรมโยธา
  • Architectural Drawing ช่างเขียนแบบสถาปัตยกรรม
  • Surveying ช่างสำรวจ
  • Electronics Technology ช่างอิเล็กทรอนิกส์
  • Accounting การบัญชี
  • Marketing การตลาด
  • Finance and Banking การเงินและการธนาคาร
  • Human Resource Management การจัดการทรัพยากรมนุษย์
  • Business English ภาษาอังกฤษธุรกิจ
  • Computer Science วิทยาการคอมพิวเตอร์
  • Industrial Engineering วิศวกรรมอุตสาหการ

ตัวอย่าง

Voc.Cert ในกลศาสตร์อัตโนมัติ

ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงในเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วิศวกรรมไฟฟ้า / วิศวกรรมไฟฟ้า

** หมายเหตุ ถ้าช่องสำหรับกรอกการศึกษาเว้นประเภทของโรงเรียนไว้ให้ผู้สมัครเติมข้อความเองผู้สมัคร
ควรที่จะเขียนการศึกษาสูงสุดที่ตนเองได้รับก่อน และเขียนการศึกษาย้อนหลังไปอีกระดับหรือสองระดับก็เป็น
การเพียงพอ ส่วนใบสมัครที่ได้กำหนดระดับการศึกษาไว้ในใบสมัครแล้ว ผู้สมัครก็ต้องเขียนรายการตามที่ใบ

สมัครกำหนดไว้เช่น

วิธีการกรอกใบสมัครงาน ภาษาอังกฤษ

ในบางครั้งมีการระบุว่าต้องเขียนสถานที่ตั้ง (Location) ของสถาบันการศึกษาด้วยซึ่งหมายถึงชื่อ
จังหวัดที่สถาบันนั้น ๆ ตั้งอยู่ เช่น Phuket Technical College, Phuket

 

4. การกรอกความสามารถพิเศษ (Language Proficiency) ความสามารถพิเศษจะแบ่งกลุ่มใหญ่ ๆได้ 2 ลักษณะ คือ

     4.1 ความสามารถทางภาษา (Language Proficiency) ภาษาต่างประเทศที่ใช้กรอก ได้แก่

  • English ภาษาอังกฤษ
  • Japanese ภาษาญี่ปุ่น
  • Chinese ภาษาจีน ควรจะระบุด้วยว่าเป็น Taechiew ภาษาจีนแต้จิ๋ว
  • Mandarin ภาษาจีนกลาง
  • Cantonese ภาษาจีนกวางตุ้ง

วิธีระบุความสามารถทางภาษาจะมีด้านต่าง ๆ เช่น Speaking, Reading, Writing, Understanding

ผู้กรอกมีวิธีการกรอกโดยเติมศัพท์ดังนี้

วิธีการกรอกใบสมัครงาน ภาษาอังกฤษ

     4.2 ความสามารถด้านอื่น ๆ (Career Qualifications) ความสามารถที่จะเป็นการเพิ่มคุณสมบัติของเราเพื่อประโยชน์ในการสมัครงาน เช่น ด้านกีฬา หรือด้านอาชีพ เช่น

  • Computer repair and knowledge of software : ซ่อมคอมพิวเตอร์และมีความรู้เรื่องซอฟต์แวร์
  • Knowledge of setting up computer networks : มีความรู้ในการติดตั้งข่ายงานคอมพิวเตอร์
  • Knowledge of CAD and computer systems : มีความรู้ในการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
  • Able to write program with BASIC, C language : สามารถเขียนโปรแกรมภาษาเบลิคและภาษาซี
  • Machine design or equipment making : การออกแบบเครื่องจักรกลหรือการสร้างอุปกรณ์
  • Mechanical engineering design : การออกแบบทางวิศวกรรมเครื่องกล
  • Knowledge in switchboard design on manufacture and wiring works : มีความรู้ด้านการออกแบบแผงสวิตซ์เพื่อการผลิต และงานเดินสายไฟฟ้า
  • Practical ability to operate PC and other OA equipment : มีความสามารถเชิงปฏิบัติในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และอุปกรณ์สำนักงานอัตโนมัติ
  • Ability in troubleshooting, modification and maintenance for electronics measurement equipments : มีความสามารถในการตรวจซ่อม การดัดแปร และการบำรุงรักษาอุปกรณ์การวัดทางอิเล็กทรอนิกส์
  • Working knowledge of computers using spreadsheets and data bases. : มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ สามารถใช้แผ่นตารางทำการและฐานข้อมูล
  • Goodknowledge ของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสเปรดชีตโปรแกรมสร้างฐานข้อมูลการสื่อสาร LAN และกราฟิก: มีความรู้อย่างดีด้านฮาร์ดแวร์ เครื่องประมวลคำฐานข้อมูล
  • Production planning, material supply or executing production lines process : การวางแผนการผลิต การจัดหาวัสดุ หรือการดำเนินการขบวนการสายการผลิต
  • The capability to prepare and review full-scale tenders : มีความสามารถในการเตรียมการ และวิเคราะห์การประมูลราคาโครงการขนาดใหญ่

 

5. ประสบการณ์การทำงาน (Experience) ในใบสมัครงานทุกบริษัทจะมีช่องประสบการณ์การทำงานไว้เพื่อจะได้รู้ว่าผู้สมัครนั้นเคยผ่านงานอะไรมาบ้าง การกรอกประสบการณ์ก็เหมือนกับการกรอกประวัติการศึกษาคือ ให้กรอกการทำงานล่าสุดก่อนแล้วค่อยย้อนหลังลงไปจนถึงการทำงานครั้งแรก สำหรับการกรอกประวัติการทำงานมักมีรายละเอียดดังนี้

     5.1 ตำแหน่งที่ทำงาน (Position) เช่น

  • Technician นายช่างเทคนิค
  • Foreman หัวหน้าควบคุมงาน
  • Junior Foreman หัวหน้าควบคุมงาน (ผู้ช่วย)
  • Senior Foreman หัวหน้าควบคุมงาน (ระดับสูง)
  • Supervisor ผู้ควบคุมงาน
  • Assistant Supervisor ผู้ช่วยผู้ควบคุมงาน
  • Engineer วิศวกร
  • Assistant Engineer ผู้ช่วยวิศวกร
  • Inspector ผู้ตรวจสอบ
  • Manager ผู้จัดการ

     5.2 เหตุผลที่ลาออก (Reason for Leaving) เช่น

  • ไม่มีความคืบหน้า
  • Limited career opportunity ไม่มีความก้าวหน้าในอาชีพ
  • Company Discontinued บริษัทเลิกกิจการ
  • Unsuitable Position ตำแหน่งไม่เหมาะสม
  • Contract Terminated สิ้นสุดสัญญา
  • การศึกษาต่อไป
  • To get higher education เพื่อศึกษาต่อ
  • ศึกษาต่อ
  • Military Service เพื่อเข้าเป็นทหาร
  • Needed Better Job ต้องการงานที่ดีกว่า
  • Company Loss บริษัทขาดทุน
  • Company Reduced Manpower บริษัทลดพนักงาน
  • Temporary Employ เป็นงานชั่งคราว5.3 สถานที่ทำงาน (Work Place) เช่น
  • Electricity Generating Autority of Thailand (EGAT) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  • ประเทศไทยโรงงานยาสูบโรงงานยาสูบ
  • Metropolitan Water Works Authouity การประปานครหลวง

วิธีการกรอกใบสมัครงาน ภาษาอังกฤษ

 

6. เรื่องเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous) ผู้กรอกต้องกรอกในหัวข้อดังนี้

     6.1 ตำแหน่งที่สมัคร ให้กรอกตามประกาศที่รับสมัครโดยให้ตรงตามคุณวุฒิและข้อกำหนดของตำแหน่งนั้น ๆ

     6.2 เงินเดือน การกรอกเงินเดือนควรกรอกเป็นช่วงเพื่อให้นายจ้างมีทางเลือกที่จะพิจารณา เช่น 9,000 – 10,000 บาท การกรอกเงินเดือนไม่ควรให้ต่ำหรือสูงเกินไป ในกรณีที่ผู้สมัครไม่ ต้องการจะกรอกจำนวนเงิน อาจจะกรอกข้อความอย่างอื่นได้ เช่น

Negotiable เงินเดือนแล้วแต่จะตกลง

Is up to your consideration เงินเดือนแล้วแต่จะพิจารณา

ตัวอย่าง

เงินเดือนที่ต้องการ 3,000 3,500 / เดือน

ต่อรองเงินเดือน

     6.3 คำถามเกี่ยวกับการกระทำความผิด มีดังนี้

  • Have you ever been arrested, คุณเคยถูกจับกุมหรือไม่
  • taken into custody, เคยถูกคุมขัง
  • held for investigation, เคยถูกสอบสวน
  • the offence charged? ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด
  • Do not give minor traffic ไม่ต้องกล่าวถึงการฝ่าฝืนกฎจราจร
  • violations เล็กน้อย

     6.4 คำถามเกี่ยวกับการถือครองใบอนุญาตต่าง ๆ เช่น

  • Driving Licence / Driver s License ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์
  • Auditing Licence ใบอนุญาตการตรวจสอบบัญชี
  • Registered Engineering Licence ใบประกอบอาชีพวิศวกร
  • Certified Professional Auditor ใบประกอบอาชีพผู้ตรวจสอบบัญชี
  • Teaching Licence ใบประกอบวิชาชีพครู

ตัวอย่าง

– คุณถือใบอนุญาตใด ๆ ถ้าใช่อะไร?

– ใช่ที่ลงทะเบียนใบอนุญาตวิศวกรรม

     6.5 คำถามเกี่ยวกับการเริ่มเข้าทำงาน

– เมื่อคุณจะมีการเริ่มต้นการทำงาน?

– ฉันจะสามารถใช้ได้ / กันยายน 1 / ทุกที่ทุกเวลาที่คุณต้องการ

 

7. การเขียนผู้รับรอง (Reference) ควรที่จะเขียนอย่างน้อย 2 คน หรือตามจำนวนที่ระบุไว้ในใบสมัคร ซึ่งในใบสมัครงานมักจะระบุว่าผู้รับรองต้องไม่ใช่ญาติ (Relatives) กับผู้สมัคร การเขียน ชื่อ สกุล ผู้รับรองนั้นต้องมีคำรำหน้านามเสมอ ในกรณีผู้รับรองมียศทางทหาร / ตำรวจ หรือตำแหน่งทางราชการ บริหาร/ การเมือง หรือตำแหน่งทางวิชาการ (ผศ. Asst. prof. รศ. Assoc. Prof. ศ. Prof) ควรที่จะเขียนด้วยเพื่อความน่าเชื่อถือ

ตัวอย่าง

การอ้างอิง – ครูคนมืออาชีพและธุรกิจที่ได้รู้จักคุณ

กว่าห้าปี ไม่ได้ใช้ชื่อของญาติ

วิธีการกรอกใบสมัครงาน ภาษาอังกฤษ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

 

2014-07-29