สังคม

ศาสนาสำคัญของโลก

1. ประเภทศาสนา

ศาสนาเทวนิยม นับถือพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งต่างๆ

เอกเทวนิยม นับถือพระเจ้าองค์เดียว ได้แก่ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม

ทวิเทวนิยม นับถือพระเจ้า 2พระองค์ ได้แก่ ศาสนาโซโรอัสเตอร์

พหุเทวนิยม นับถือพระเจ้าหลายองค์ ได้แก่ ศาสนาพราหมณื-ฮินดู

ศาสนาอเทวนิยม ไม่เชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกสรรพสิ่ง แต่เชื่อว่าทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยและเชื่อว่ากรรมเป็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลง

2.ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลกเกิดขึ้นในยุคพระเวท ไม่มีศาสนา(ผู้ก่อตั้ง) เป็นศาสนาของชาวอารยัน เมื่อเข้ามาในอินเดียได้นำความเชื่อตามธรรมชาติ(วิญญาณนิยม)ของชนพื้นเมืองเดิม (ดราวิเดียน หรือ มิลักขะ หรือทัสยุ) มาผนวกกับความเชื่อของตนกลายเป็นศาสนาพราหมณ์ ซึ่งสรุปได้ดังนี้

ยุคก่อนพระเวท                    ยุคพระเวท                     ยุคพราหมณ์                  ยุคฮินดู

วิญญาณนิยม                     พหุเทวนิยม                    เอกเทวนิยม                    พหุเทวนิยม

คัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์

คัมภีร์ศรุติ คัมภีร์จากพระเจ้า เช่น คัมภีร์พระเวท

คัมภีร์สมฤติ คัมภีร์ที่เกิดจากมนุษย์สร้าง เช่น คัมภีร์ธรรมศาสตร์ คัมภีร์อิติหาสะ คัมภีร์ปุราณะ

คัมภีร์พระเวท เป็นคัมภีร์ที่เก่าแก่สุด ได้แก่

1) ฤคเวท เป็นบทร้อยกรองที่ใช้สรรเสริญเทพเจ้าต่างๆ

2) ยชุรเวท เป็นคำร้อยแก้วที่ใช้ในการบูชายัญและพิธีบวงสรวงต่างๆ

3) สามเวท เป็นร้อยกรองประกอบดนตรีใช้ในทางขับกล่อมและถวายน้ำโสมเทพเจ้า

4) อาถรรพเวท เป็นพระเวทที่เกิดหลังสุด เกี่ยวกับเวทมนต์คาถาต่างๆ

คัมภีร์ไตรเทพหรือไตรเวท ได้แก่ ฤคเวท ยชุรเวท และสามเวท

คัมภีร์ธรรมศาสตร์ เป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วยหลักกฎหมาย จารีตประเพณีและสิทธิของคนในสังคมฮินดู

คัมภีร์อิติหาสะ ว่าด้วยวีรกรรมของวีรบุรุษ เช่น มหากาพย์รามายณะ                มหากาพย์มหาภารตะ

คัมภีร์ปุราณะ เปรียบเสมือนสารานุกรมของชาวฮินดู ว่าด้วยตรีมูรติ (พระพรหม พระศิวะ และ พระนารายณ์) การสร้างโลก ทำลายโลก สร้างโลกใหม่

คัมภีร์อุปนิษัท เป็นคำสอนที่ด้วยหลักหรือสอนเกี่ยวกับปรมาตมันที่เชื่อว่าเป็นความจริงอาตมันหรือวิญญาณของคนแต่ละชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของปรมาตมัน

คัมภีร์ภควัทคีตา เป็นหัวใจนักปรัชญาของฮินดู เป็นที่คารวะศูนย์รวมของนักปรัชญาทุกระบบ

 นิกายของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

5.2.1    นับถือพระพรหมเป็นเทพเจ้าสูงสุด

5.2.2   ไวษณพ นับถือพระวิษณุหรือพระนารายณ์เป็นใหญ่ เชื่อในลักธิอวตาร

5.2.3   ไศวะ นับถือพระศิวะหรืออิศวรเป็นใหญ่

5.2.4    ศักดิ นับถือเทวีหรือมเหสีของเทพเจ้า เช่น พระนางอุมา (มเหสีพระอิศวร)      พระนางสุรัสวดี (มเหสีพระพรหม) พระนางลักษมี (มเหสีพระวิษณุ)

  หลักธรรม

5.4.1. หลักอาศรม 4 คือขั้นตอนในการดำเนินชีวิตของวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ มีขั้นตอนตามลำดับดังนี้

1) พรหมจารี แปลว่า ผู้พฤติพรหมจรรย์ หมายความว่าอยู่ในวัยเล่าเรียนโดยต้องผ่านพิธีอุปนยัน (พิธีเข้ารับการศึกษา) โดยเด็กจะคล้องด้ายศักดิ์สิทธ์ที่เรียกว่า ยัชโยปวีตหรือสายธุรำ

2) คฤหัสถ์ คือ ผู้ครองเรือน แต่งงานมีครอบครัว สืบสกุล

3) วานปรัสถ์ คือ วัยที่ต้องปฏิบัติธรรม บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม

4) สันยาสี เป็นช่วงสุดท้ายของชีวิต มีการออกบวชเพื่อให้บรรลุโมกษะ

5.4.2. หลักปุรุษารถะ

1) อรรถะ คือ การแสวงหาทรัพย์

2) กามะ คือ การแสวงหาความสุขทางโลก

3) ธรรมะ คือ การประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อหาความจริงของชีวิต

4) โมกษะ คือ การออกบำเพ็ญพรตเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายของชีวิตคือ โมกษะ การหลุดพ้นจากการเวียน ว่าย ตาย เกิด จะดำรงความสุขอันไม่เปลี่ยนแปลงไปชั่วนิรันดรซึ่งเรียกว่า ปรมาตมัน

ส่วน พรหมัน หรือ ปรพรหม หรือ ปรมาตมัน เป็นอาตมันสากล (ไม่ใช่พระพรหม) เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ในภาวะ เป็นสิ่งแท้จริงสูงสุด เป็นตัวตนที่เที่ยง (อัตตา) ไม่มีขอบเขตจำกัด ไม่มีรูปร่าง ไม่มีเบื้องต้น ไม่มีที่สุด ดำรงอยู่ตลอดกาล มีอยู่ในทุกสิ่ง โดยที่ทุกสิ่งนั้นเป็นิ่งที่เกิดจากพรหมัน

ส่วน ชีวาตมัน เป็นตัวตนย่อย เป็นอาตมันของมนุษย์ หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่ประกอบไปด้วยร้างกายและวิญญาณ

5.4.3. การแบ่งวรรณะ

1) พราหมณ์ ได้แก่ ครู นักบวช นักกฎหมาย นักปราชญ์ นักวิทยาศาสตร์

2) กษัตริย์ ได้แก่ พระเจ้าแผ่นดิน ทหาร ตำรวจ

3 ) แพศย์ ได้แก่ ชาวไร่ ชาวนา นักบัญชี นักธุรกิจ นักการธนาคาร

4) ศูทร ได้แก่ กรรมกร

 พิธีกรรม

1) พิธีสังสการ เป็นพิธีประจำบ้าน เช่น นามกรรม (การตั้งชื่อ วิวากรรม การแต่งงาน) เป็นต้น

2) พิธีศราทธ์ เป็นการทำบุญให้บรรพบุรุษที่เสียไปแล้

3. ศาสนาคริสต์

Chirst มาจากภาษาโรมันว่า Christius ซึ่งแปลมาจากคำว่า เมสสิอาห์ ในภาษาฮิบรู แปลว่า พระผู้ปลดเหลืองทุกข์ภัยหรือพระผู้ช่วยให้รอดพ้น คำว่า Chirst เป็นศัพท์เหมือน Prophet ศาสดาพยากรณ์ หรือปกาศกในศาสนายูดาย และตรงกับคำว่า นบี ในศาสนาอิสลาม แหล่งกำเนิดของศาสนาคริสต์มาจากดินแดนปาเลสไตน์ ค.ศ. 543 มีพัฒนาการมาจากศาสนายูดาย เพราะมีการนับถือพระเจ้าองค์เดียวกันคือ พระยะโฮวาห์ ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาแห่งความรัก สอนให้ “ จงรักพระเจ้าอย่างสุขใจ สุขความคิด สุดกำลัง และ จงรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตัวเอง” หรือ “ถ้าผู้ใดตบแก้มขวาของท่าน ให้ยื่นแก้มซ้ายให้เขาตบด้วย”

นิกายศาสนาคริสต์

6.1.1  นิกายโรมันคาทอลิก ถือเป็น สันตะปาปา (pope) เป็นประมุขของชาวคาทอลิกทั่วโลก ศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม เนื่องจากพระเยซูคริสต์ ได้มอบอำนาจการปกครองให้ เซนต์ปีเตอร์ และสืบต่อ ๆ กันจนถึงสันตะปาปา การปกครองของฝ่ายดรมันคาทอลิกแบ่งเป็นเขต ๆ เรียกว่า อัครสังฆมณฑล มีอัครสังฆมณฑลเป็นประมุข สังฆณฑลแบ่งออกเป็นเขตวัด ปกครองโดยเจ้าอาวาส ซึ่งแต่งตั้งโดยสังฆราช นับถือกันในอิตาลี ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส ไอร์แลนด์ ประเทศในทวิปอเมริกาใต้ สัญลักษณ์ คือ พระเยซูถูกตรึงบนไม้กางเขน

6.1.2  นิกายโปรเตสแตนท์ นิกายนี้มาจาก มาร์ติน ลูเธอร์ ได้คัดค้านการขายใบไถ่บาป กรณีที่ชาวคริตส์ทำความผิดแล้วซื้อใบไถ่บาปจะพ้นความผิดแทนการสารภาพต่อบาทหลวง ทำให้แยกไปตั้งนิกายใหม่และไม่ถือว่าสันตะปาปาแห่งกรุงโรงเป็นประมุขร่วม ไม่มีการสืบต่อ ไม่มีประมุขใหม่ ดังนั้นโปรเตสแตนท์จึงมีการแตกออกเป็นลัทธิย่อยหลายลัทธิ แต่ละลัทธิเป็นอิสระต่อกัน เช่น นิกายลูเธอร์วัน (เยอรมัน) นิกายปฏิรูป (สวิตเซอร์แลนด์) นิกายเพรสไบทีเรียน(อังกฤษ) นิกายอังกลิกัน (อังกฤษ) นิกายโปรเตสแตนท์ไม่มีนักบวช นักพรต แต่มีผู้ทำหน้าที่ศาสนาเรียกว่า ศาสนาจารย์ ซึ่งมีครอบครัวได้ สัญลักษณ์คือ ไม้กางเขน

6.1.3  นิกายกรีกออโธดอกซ์ ไม่มีประมุขระดับโลกเหมือนนิกายคาทอลิก แต่มีประมุขระดับประเทศซึ่งเป็นอิสระต่อกัน และไม่ขึ้นตรงต่อสันตะปาปา นับถือกันใน อัลบาเนีย บัลกาเรียน โรมาเนีย เซอร์เบีย กรีซ ยูเครน รัสเซีย ฯลฯ ทั้งนี้นอกายนี้มีความเชื่อร่วมกันคือ พระเยซูเป็นผู้ก่อตั้งศาสนาคริสต์ เป็นผู้สละชีวิตไถ่บาปให้มนุษยชาติ พระเยซูทรงฟื้นคืนชีพจริง เชื่อในศีลบ้างบาปหรือศีลจุ่ม และศีลมหาสนิท เชื่อในวันพิพากษาว่าเมื่อตายแล้วจะต้องไปรอรับคำพิพากษาเพื่อการลงโทษและการตอบแทนรางวัล

คัมภีร์

6.2.1  คัมภีร์เก่า (The old testament)  กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของชนชาติยิวตั้งแต่สมัยอับราฮัม ถึงสสมัยก่อนพระเยซูคริสต์ประสูติ ยอมรับทั้งชาวยิวและชาวคริสต์ แบ่งเป็น

1)  เตารอตหรือโตราห์ เป็นส่วนที่บันทึกการกระทำและกฏเกณฑ์ต่างๆ ที่พระเจ้าให้ชาวยิวถือปฏิบัติ

2)  ศาสดาพยากรณ์ เป็นการบันทึกเรื่องราวคำสอน คำทำนายของศาสดาพยากรณ์ในสมัยต่างๆ

3) ฮาจิโอกราฟฟา เป็นเพลงสดุดี สุภาษิต วรรณคดี

6.2.2  คัมภีร์ใหม่ (The New Testament ) ยอมรับกันในในหมู่ชาวคริสต์เท่าน้น แบ่งเป็น

1)  พระวรสาสน์ (Gospels)  กล่าวถึงชีวิตและคำสอนของพระเยซูคริสต์ มี 4 ฉบับ คือ ฉบับมัทธิว ฉบับมาระโก ฉบับลูก ฉบับโยฮันหรือยอห์น

2)  กิจกการของอัครสาวก เป็นเรื่องราวของสังคมชาวคริสต์ตั้งแต่พระเยซูถูกตรึงบนไม้กางเขนจนถึงการเผยแผ่ศาสนาของนักบุญเปาโล

3) คัมภีร์จดหมายเหตุ รวบรวมจดหมายเหตุของผู้นำโบสถ์ต่างๆ มีนักบุญเปาโลเป็นผู้นำสำคัญ

4)  วิวรณ์  ส่วนที่กล่าวถึงอนาคตในลักษณะการทำนายและให้กำลังใจแก่ชาวคริสต์ปฏิบัติงานในที่ต่าง ๆ

การเชื่อในเรื่องตรีเอกานุภาพ หมายถึง พระเจ้าองค์เดียว แต่มี 3 บุคคลหรือสามสภาวะ ได้แก่

  1. พระบิดา (พระยะโฮวา) หมายถึง พระเจ้าผู้ทรงสร้างโลกและให้กำเนินแก่ชีวิตทุกชีวิต
  2. พระบุตร (พระเยซู) คือ พระผู้ทรงมาเกิดเพื่อไถ่บาปให้แก่มวลมนุษย์
  3. พระจิต (วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ ของพระบิดาและพระบุตรรวมกัน) คือ พระวญญาณอันเป็นบริสุทธิ์เป็นผู้นำมนุษย์ไปสู่อาณาจักรของพระเจ้า

บัญญัติ 10  ประการ

อย่างมีพระเจ้าอื่นต่อเหน้าเราเลย

อย่าทำรูปเคารพสำหรับตน อย่ากราบไหว้หรือปรนนิบัติรูปเหล่านั้น

อย่าออกนามพระยะโฮวา พระเจ้าของเจ้าเปล่า ๆ

จงระลึกวันซะบาโต ถือเป็นวันบริสุทธิ์ ให้ทำงาน 6 วัน และวันที่ 7 อย่ากระทำการงานสิ่งใดๆ

จงนับถือบิดามารดา

อย่าฆ่าคน

อย่าล่วงประเวณีผัวเมียเขา

อย่าลักทรัพย์

อย่าเป็นพยานเท็จต่อเพื่อนบ้าน

อย่าโลภเรือนของเพื่อนบ้าน หรือสิ่งใดๆ ซึ่งเป็นของของเพื่อนบ้าน

 พิธีกรรม

พิธีกรรมในศาสนาคริสต์ คือ ศีล ซึ่งประกอบ

6.4.1  ศีลล้างบาป หรือศีลจุ่ม มีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีบาปติดตัวมา ผู้นับถือศาสนาคริสต์ทุกคนต้องผ่านพิธีนี้เสียก่อนจึงจะเป็นชาวคริสต์ที่สมบูรณ์ โดยรับครั้งเดียวซึ่งบาทหลวงจะเทน้ำลงบนศีรษะของผุ้ไปรับศีล (นิกายโปรเตสแตนท์เรียกว่า ศีลจุ่มหรือบัพติสมา)

6.4.2  ศีลกำลัง เป็นพิธีกรรมที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ ผู้รับศีลต้องอยู่ในวัยที่รู้เกจุผลแล้ว ผู้ที่ทำพิธีต้องเป็นพระสังฆราชหรือพระบิดาชอบเท่านั้น โดยวางมือทั้ง 2 ลงบนศีรษะแล้วเจิมน้ำมันมะกอบที่หน้าผากเป็นรูปกางเขน

6.4.3 ศีลมหาสนิท (โปรเตสแตนท์เรียกว่า พิธีมิสซา) เป็นการรำลึกถึงการสิ้นพระชนของพระเยซูบนไม้กางเขต และเพื่อให้ได้แนบสนิทกับพระเยซู บาทหลวงผุ้ทำพิธีจะแจกขนมปังและเหล้าองุ่น (แทนเนื้อและเลือกของพระเยซู)

6.4.4  ศีลสารภาพบาป หรือศีลอภัยบาป ผู้ที่กระทำผิดต้องไปหาบาทหลวงเพื่อสารภาพถึงการกระทำผิดนั้น และมีการยกบาปนั้นให้ ส่วนโทษของบาปหรือบาปกรรมจะติดตัวไป จนกว่าจะหมดกรรมด้วยการทำความดี

6.4.5   ศีลสมรส

6.4.6 ศีลบวช

6.4.7   ศีลเจิมครั้งสุดท้ายหรือศีลเจิมผู้ป่าย

นอกจากนี้ยังมีพิธีกรรมที่ชาวคริสต์ได้ทำ เช่น วันอิสเตอร์ เป็นวันเฉลิมฉลองในการฟื้นค้นชีพของพระเยซู วันศุกร์ก่อนจะถึงวันอิสเตอร์ ชาวคริสเตียนจะมีการเฉลิมฉลองการครบรอบที่พระเยซูถูกตรึงที่ไม้กางเขน (สิ้นพระชนม์) ซึ่งเรียกว่า God Friday หรือ God s’Triday

4.ศาสนาอิสลาม

อิสลาม แปลว่า การอ่อนน้อยถ่อมตนยอมจำนนต่อพระเจ้า มุสลิม แปลว่า ผู้ยอมมอบตนตาม

ประสงค์พระเจ้าโดยสิ้นเชิง ผู้ให้กำเนิด คือ มูฮำมัด เกิดที่เมืองแมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย เมื่อ        มูฮัมมัดไปบำพํญสมาธิที่ถ้าฮิรอ เทวทูต หรือ มลาอิกะหรือกาเบรียล นามว่า ญิบรออิล หรือญบรีล ได้นำโองการของอัลเลอฮมาให้อ่านความว่า “จงอ่านในนามของอันลอฮเจ้าผู้ทรงสร้างมนุษย์และสรรพสิ่งด้วยก้อนเลือก” เมื่อมีการประกาศศาสนา ภรยาชื่อ นางคอดียะ ได้เป็นมุสลิมคนแรก จากนั้นได้เผยแผ่ศาสนาอิสลามจากนครเมกกะ ไปยังเมืองยาธริบหรือเมืองเมดินะ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นฮิจเราะห์ศักราช (แปลว่าอพยพหรือหนี) อิสลามไม่เป็นเพียงศาสนาเท่านั้นแต่เป็นทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม

 นิกายศาสนาอิสลามที่สำคัญ

นิกายชีอะห์ คำว่า ชีอะห์ แปลว่า พรรคพวกของอาลีนิกายนี้นับถือวงศ์ของอาลีซึ่งเป็นบุตรของนบีมูฮัมมัด ไม่ยอมรับว่า อบูบักรหรืออุมัรหรือคนอื่น ๆที่มิใช่วงศ์สืบเนื่องมาจากอาลีว่าเป็นกาหลิบหรือคอลีฟะที่ถูกต้อง (ผู้ปกรองระดับสูงสุดศาสนาอิสลาม)

นิกายซุนนะห์ คำว่า ซุนนะห์ แปลว่า ถือตนตามแบบเดิม มีการนับถือตามคำสอนเดิมอย่างเคร่งครัดไม่ยอมดัดแปลง แก้ไขใด ๆ มีการนับถืออบูบักร โอมาร์หรืออูมาร โอถมานหรืออุสมาน หรืออาลี ว่าเป็นกาหลิบที่สืบต่อจากท่านมูฮัมมัด มีการใช้หมวกสีขาวเป็นเครื่องสังเต นับถือกันในซาอุดิอารเบีย ตุรกี ไทย มาเลเซีย

คัมภีร์ 

คัมภีร์-กรุอาน เป็นคัมภีร์ที่มุสลิมเชื่อว่า มีความสมบูรณ์ที่สุดและเป็นฉบับสุดท้ายที่ได้รับประทานมาจากองค์อัลเลาะห์ นอกจากนี้อัลเลาะห์ยังมีการประทานคัมภีร์อื่น ๆ เช่น คัมภีร์ เตารอตหรือโตราห์ หรือพันธสัญญาเดิม  คัมภีร์อันญีลหรือพันธสัญญาใหม่ คมภีร์ซาบูร์ คัมภีร์อัล-กรุอาน

คัมภีร์อัล หะ ดีส เป็นคัมภีร์ที่เกี่ยวกับคำสอนและจริยวัตรของมูฮัมมัด

หลักศรัทธา 6 ประการ

1 ศรัทธาต่ออัลลอฮ

2 ศรัทธาต่อคัมภีร์ เช่น คัมภีร์อัลกรุอาน คัมภีร์เตารอต คัมภีร์อินญีล คัมภีร์ซะบูร์

3 ศรัทธาเทวทูตหรือมลาอิกะห์ มีหน้าที่สนองพระบัญชาอัลเลาะห์แตกต่างกัน

4  ศรัทธาต่อศาสนทูตหรือรอซูล หรือศาสดา ได้แก่ มูฮัมมัด

5  ศรัทธาต่อวันสิ้นโลกหรือ กิยามะห์ เนื่องจากโลกไม่จีรังยั่งยืนต้องมีการแตกสลาย

6 ศรัทธาต่อการกำหนดสภาวการณ์ มีทั้งกฎตายตัวหรือกฎธรรมชาติ และกกไม่ตายตัวซึ่งมนุษย์สามารถเลือกได้

 

หลักปฏิบัติ 5 ประการ

หลักปฏิญาณตน ซึ่งเป็นหัวใจของมุสลิม โดยกล่าวคำปฏิญาณว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ และมูฮัมมัดคือศาสนทูตแห่งพระองค์”

การละหมาดหรือการนมัสการพระเจ้า คือ การแสดงความเคารพ ความภักดีต่อพระเจ้า เป็นการขัดเกลาจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา โดยทำการละหมาด 5 เวลา คือ ย่ำรุ่ง กลางวัน เย็น พลบค่ำ และกลางคืน การละหมาดทำที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นมัสยิดหรือสุเหร่า แต่ขอให้เป็นที่สะอาด โดยหันหน้าไปทิศทางเดียวกันคือ ที่ตั้งของกะบะฮ์ ซึ่งเรียกว่า กิบลัต สำหรับประเทศไทยหันหน้าไปทิศตะวันตกและก่อนละหมาดทั้งหญิงและชายต้องทำร่างกายให้สะอาดเสียก่อน

การถือศีลอด หมายถึง การละเว้นจากการกิจ การดื่ม การมีเพศสัมพันธ์ ตลอดถึงการรักษาอวัยวะทุกส่วนให้พันจากความชั่ว ทั้งกาย วาจาและใจตั้งแต่พระอาตย์จนถึงพระอาทิตย์ตกในเดือนรอมฎอน (เดือนที่ 9 ของฮิจเราะห์ศักราช) จุดมุ่งหมายการถือศีลอดคือ การฝึกฝนทางร่างกายและจิตใจให้มีความอดทน เห็นอกเห็นใจคนจน ทุกคนที่เป็นมุสลิมต้องถือศีลอดยกเว้นคนมีครรภ์ ป่วย ชรา อยู่ระหว่า การเดินทาง หญิงมีประจำเดือน บุคคลที่ทำงานหนัก เช่น กรรมก ซึ่งต้องศีลอดชดใช้ตามจำนวนวันที่ขาด

การบริจาคซะกาด หมายถึง การจ่ายทานบังคับจากผู้มีทรัพย์สินครบรอบ 1 ปี เมื่อเกินจำนวนที่กำหนดไว้ ถ้าเป็นเงินสดหรือสินค้าจะต้องจ่ายจำนวนที่เหลือเก็บร้อยละ 2.5 ของมูลค่าทรัพย์สินนั้น จุดมุ่งหมายของการบริจาคซะกาด คือ เพื่อให้ทรัพย์ สินที่หามาได้และที่มีอยู่เป็นทรัพย์ที่บริสุทธิ์ตามหลักการของอิสลามและเป็นการขัดเกลาจิตใจผู้บริจาคให้สะอาดบริสุทธิ์ ลดความเห็นแก่ตัว ไม่เกิดละโมบ

การประกอบพิธีฮัจญ์ คำว่า ฮัจญ์ หมายถึง การเดินทางไปยังจุดมุ่งหายเฉพาะซึ่งคือ กะบะก์ หรือบัยดุลลอดฮ์ ซาอุดิอาระเบีย โดยต้องเดินเวียนรอบ 7 รอบและจูบหินดำหรือทำท่าลูบหินดำแล้วเอามาจูบ เป็นหลักปฏิบัติเฉพาะบุคคลที่มีความสามารถเท่านั้นคือ สุขภาพแข็งแรงทั้งกายและจิตใจ และเส้นทาง ที่เดินทางไปมีความปลอดภัย จุดมุ่งหมายของการประกอบพิธีฮัจญ์คือ การเกิดสัมพันธภาพและภารดรภาพของมุสลิมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การทดสอบในการเสียสละ การฝึกความอดทนทั้งร่ายกายและจิตใจ การสำรวมตน

ศาสนาพุทธ

๑. กำเนิด

พุทธศาสนากำเนิดขึ้น ณ ประเทศ อินเดียเมื่อประมาณก่อนคริสต์ศาสนาประมาณ ๕๔๓ ปี เกิดขึ้นในยุคที่กำลังมีการค้นคว้ากาวิธีการดับทุกข์กันอยู่ทั่วไป โดยผู้คนในยุคนั้นจะนับถือศาสนาพราหมณ์กันอยู่โดยมาก

๒. สิ่งเคารพสูงสุด

พุทธศาสนาเป็นศาสนาประเภท อเทวนิยม คือไม่ยอมรับว่ามีเทพเจ้าใดๆว่ามีอำนาจสูงสุด แต่จะยอมรับกฎธรรมชาติ(ธรรมะ หรือธรรม) ว่าเป็นสิ่งสูงสุดที่มีลักษณะคล้ายกับพระเจ้าของศาสนาประเภทเทวนิยม

๓. ศาสดา

ศาสดาคือพระพุทธเจ้า ซึ่งเดิมคือเจ้าชายสิทธัตถะ ที่ออกบวชค้นหาความจริงจนกระทั่งได้ค้นพบความจริงของธรรมชาติในเรื่องการดับทุกข์ของจิตใจตามหลักเหตุผล(หรือตามหลักวิทยาศาสตร์)ได้อย่างถาวร

๔. คัมภีร์

คือพระไตรปิฎก อันประกอบด้วย

๑. พระวินัย ซึ่งรวบรวมเรื่องศีลของภิกษุและภิกษุณีเอาไว้ทั้งหมด

๒. พระสูตร ซึ่งรวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าและพระสาวกเอาไว้

๓. พระอภิธรรม ซึ่งรวบรวมหลักปรัชญาที่พระสาวกรุ่นหลังๆแต่งขึ้นไว้

๕. สรุปหลักคำสอน

คำสอนของพุทธศาสนานั้นก็มีอยู่ ๒ ระดับคือ

๑. ระดับชาวบ้านซึ่งมีหลักการอยู่มากมายซึ่งสรุปอยู่ที่การมีศีล มีเมตตา มีความขยันอดทนและรู้จักใช้เหตุผลในการดำเนินชีวิต เป็นต้น

๒. ระดับสูงซึ่งได้แก่หลักอริยสัจ ๔ อันเป็นหลักในการดับทุกข์และจัดเป็นหัวใจของคำสอนทั้งหมด ซึ่งสรุปอยู่ที่การทำจิตให้ว่างจากกิเลสทั้งปวง โดยมีศีลเป็นพื้นฐาน รวมทั้งมีสมาธิเป็นกำลังและมีปัญญาเป็นตัวควบคุม.

๖. จุดหมายสูงสุด

จุดหมายสูงสุดของพุทธศาสนา คือ “นิพพาน” หรือความไม่มีทุกข์อย่างถาวรในชีวิตปัจจุบันซึ่งเป็นจุดหมายสูงสุด ส่วนจุดหมายรองลงมาคือการมีชีวิตอยู่โดยให้มีความทุกข์น้อยที่สุด.

๗. ความเชื่อและหลักปฏิบัติ

พุทธศาสนาสอนว่าทุกสิ่งเป็นไปตามธรรมชาติ(หรือธรรมดา)ของมันเอง คือเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย(ปัจจัยคือเหตุย่อยๆ)ที่ผลักดันกันไปเรื่อยๆ โดยไม่มีตัวตนหรือผู้ใดมาดลบันดาล ดังนั้นการปฏิบัติก็คือการปฏิบัติหน้าที่ของตนๆให้ถูกต้องตามที่ธรรมชาติกำหนดมา อย่ามีความเห็นแก่ตัว จงเห็นแก่ผู้อื่น หรือเห็นแก่ธรรมชาติ

๘. นิกาย

ปัจจุบันมีอยู่ ๒ นิกายใหญ่ๆคือ

๑. มหายาน หรืออาจาริยวาท ซึ่งเปลี่ยนแปลงคำสอนเดิมจนหาหลักเดิมได้ยาก

๒. หีนหาย หรือเถรวาท ซึ่งยึดถือพระไตรปิฎกดั้งเดิมมาปฏิบัติ

๙. ประเทศที่นับถือ

นิกายมหายานก็มีประเทศจีน, ไต้หวัน, เวียดนาม ส่วนเถรวาทก็มีประเทศ ศรีลังกา, พม่า, ลาว, กัมพูชา , ไทย และมีประปรายในประเทศต่างๆทั่วโลก

๑๐. ประเพณี

ดั้งเดิมนั้นไม่มีแต่ภายหลังเกิดมีขึ้นเช่น ประเพณีการทอดกฐิน ทอดผ้าป่า และการทำบุญตามวันสำคัญทางศาสนา

๑๑. ผู้สืบทอด

ได้แก่พระภิกษุ (นักบวชชาย) ที่ถือศีล ๒๒๗ ข้อ รวมทั้งมีสามเณร ถือศีล ๑๐ แต่ก่อนมีภิกษุณี (นักบวชหญิง) ถือศีล ๓๑๐ ข้อ ซึ่งปัจจุบันทางนิกายเถรวาทถือว่าภิกษุณีได้หมดสิ้นไปแล้ว แต่ทางมหายานถือว่ายังมีอยู่  รวมทั้งอุบาสก อุบาสิกา ที่เรียกรวมๆว่า พุทธบริษัท ๔

๑๒. วันสำคัญทางศาสนา

วันสำคัญทางศาสนาก็มีอยู่ ๔ วันคือ

๑. วันวิสาขบูชา อันเป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า

๒. วันอาฬาสหบูชา อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมครั้งแรก.

๓. วันมาฆบูชา อันเป็นวันที่พระอรหันต์จำนวนมากมาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย.

๔. วันอัฐมีบูชา อันเป็นวันถวายประเพลิงพระสรีระพระพุทธเจ้า.

๑๓. สถานที่สำคัญ

ได้แก่สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง คือ สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงประสูติ, ตรัสรู้, แสดงปฐมเทศนา, และปรินิพพาน.

วิดีโอ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก รูปภาพ และวิดีโอ

 

2014-07-29