เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจฟองสบู่

imagesCAKB9V8E.jpg

เศรษฐกิจฟองสบู่  เป็นสภาพที่ระบบเศรษฐกิจเติบโตที่ลวงตา เพราะเป็นการเติบโตแต่เฉพาะมูลค่า อันเนื่องมาจากระดับราคาในระบบสูงขึ้น เศรษฐกิจฟองสบู่ จะเกิดขึ้นกับประเทศที่เน้นเรื่องการสร้างเติบโตให้กับระบบเศรษฐกิจมากเกินไป เป็นตัวเร่งให้เกิดอุปสงค์ที่แท้จริงและอุปสงค์เทียม (เกิดจากการเก็งกำไร) เพิ่มขึ้นอย่างมาก จนในที่สุดทำให้โครงสร้างของระดับราคายกระดับสูงขึ้น และนำไปสู่การขยายตัวแบบฟองสบู่ ดังเช่นที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษ 1980 ที่ระบบเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเติบโตอย่างสูง ระดับราคาสินค้าทั่วไปสูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เช่น ราคาที่ดินและที่อยู่อาศัยสูงมาก สำหรับประเทศไทยก็เคยอยู่ในสภาพที่นำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ คือในช่วงปี 2530- 2533 โครงสร้างระดับราคาในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ตลาดหุ้น และสินค้าอุตสาหกรรมสูงขึ้นอย่างมาก แต่สภาพดังกล่าวได้สะดุดลง เพราะเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง

ผลเสียของเศรษฐกิจฟองสบู่ คือ การผลิตและการจ้างงานจะไม่เพิ่มขึ้น หรือเพิ่มขึ้นน้อยมาก นอกจากนี้ยังทำให้รายได้ที่แท้จริงของคนลดลง มาตรฐานการกินดีอยู่ดีก็จะลดลง เพราะถ้ารายได้ของประชาชนเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาสินค้าที่สูงขึ้น อำนาจซื้อของเงินเท่าเดิมจะซื้อสินค้าได้น้อยลง และเมื่อถึงจุดที่ระบบเศรษฐกิจฟองสบู่ยุบตัวลง คือเมื่อระดับราคาเริ่มตกลง จะทำให้มูลค่าทรัพย์สินต่าง ๆ ลดลง ซึ่งจะมีผลกระทบในเบื้องต้นต่อภาคการเงินก่อน คืออาจจะทำให้ระบบการเงินล่มสลาย และนำไปสู่ความหายะนะในภาคอื่น ๆ ตามมา สภาพเช่นนี้เริ่มก่อเค้าในประเทศญี่ปุ่น ประมาณต้นทศวรรษ 1990 สภาพฟองสบู่เริ่มหดตัวลง เป็นผลทำให้ระดับราคาของอสังหาริมทรัพย์เริ่มตกลง สภาบันการเงินที่รับจำนองอสังหาริมทรัพย์เหล่านี้มีปัญหาหนี้เสีย มูลค่าหลักทรัพย์ที่จำนองลดต่ำลง จนลูกหนี้ไม่คุ้มที่จะถ่ายถอนคืน ดังเช่นที่กำลังเกิดขึ้นกับสหภาพสินเชื่อยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น   คือ คอสโม ซินโย คูมิเออิ ที่ในช่วงเศรษกิจเฟ่องฟูสุดขีดในปลายทศวรรษ 1980 สหภาพนี้ได้ปล่อยกู้ให้กับบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีลักษณะลงทุนแบบเก็งกำไร รวมทั้งนักลงทุนในตลาดหุ้น

เศรษฐกิจฟองสบู่จะเกิดขึ้นในแต่ละส่วนของระบบเศรษฐกิจต่างกัน ส่วนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ตลาดเงิน ตลาดทุน และอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังในการลงทุนในตลาดทั้งสามประเภทในช่วงเศรษฐกิจกำลังจะเกิดสภาพฟองสบู่

ธนาคารแห่งประเทศไทย

topic-3037-1.gif

ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นธนาคารกลาง ของประเทศ  โดยมี บทบาทหน้าที่ที่สำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทยดังนี้
     1.  เป็นผู้ออกธนบัตร   เพื่อควบคุมปริมาณธนบัตรที่ใช้หมุนเวียนให้พอดีกับความต้องการของภาคธุรกิจและ ประชาชนทั่วไป โดยมีกฎหมายควบคุมการออกธนบัตรและจัดการเกี่ยวกับธนบัตร เพื่อความมีเสถียรภาพของเงินตราของประเทศ

     2.  เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์   ในฐานะนายธนาคารของธนาคารพานิชย์ ธนาคารกลางจำทำหน้าที่ดังนี้คือ
– รับฝากเงินจากธนาคารพานิชย์ ตามปกติธนาคารพาณิชย์จะต้องฝากเงินสดสำรอง ตามที่กำหนดไว้กับธนาคารกลาง
และใช้เป็นเงินสดสำรองสำหรับชำระหนี้ หรือ โอนเงินระหว่างธนาคารพานิชย์ด้วยกัน
– รับหักบัญชีระหว่างธนาคาร   โดยที่ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งฝากเงินไว้ที่ธนาคารกลาง เมื่อมีหนี้สินระหว่างธนาคารพาณิชย์ด้วยกัน
– เป็นผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้าย   ธนาคารกลางเป็นแหล่งสุดท้ายที่ธนาคารพาณิชย์จะกู้ยืมได้โดยมีหลักทรัพย์รัฐบาลค้ำประกัน

     3. เป็นนายธนาคารและตัวแทนทางการเงินของรัฐบาล   ธนาคารกลางจะทำหน้าที่ทางการเงินให้แก่รัฐบาลดังนี้ คือ  ถือบัญชีเงินฝาก ธนาคารกลางจะรักษาบัญชีเงินฝากของหน่วยราชการรัฐวิสาหกิจ และองค์กรอื่นๆ ของรัฐบาล       และทำหน้าที่เป็นผู้จ่ายเงิน ตามเช็คที่หน่วยราชการต่างๆ และรัฐวิสาหกิจสั่งจ่าย – ให้รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจกู้ยืม รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจอาจกู้ยืมเงินจากธนาคารกลาง โดยการขายตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตร – เป็นตัวแทนทางการเงินของรัฐบาล ธนาคารกลางจะเป็นตัวแทนจัดการทางการเงินของรัฐบาลทั้งในประเทศ และนอกประเทศ เช่น    ติดต่อหาแหล่งเงินกู่ให้รัฐบาล

     4.  ดำเนินนโยบายการเงิน    ธนาคารกลางมีบทบาทสำคัญในการควบคุมปริมาณเงินของประเทศให้มีปริมาณที่เหมาะสม  ใช้มาตรการต่างๆ ในการดำเนินนโยบายแก้ไขเงินเฟ้อให้มีปริมาณเงินในระดับที่เหมาะสม

 

เศรษฐกิจพอเพียง
1.jpgกระแสพระราชดำรัส
          “ทฤษฎีใหม่นี้มีไว้สำหรับป้องกัน หรือถ้าในโอกาสปกติ ทำให้ร่ำรวยขึ้น ถ้าในโอกาสที่มีอุทกภัยก็สามารถ ที่จะฟื้น ตัวได้ โดยไม่ต้องให้ทางราชการไปช่วยมากเกินไป ทำให้ประชาชนพึ่งตนเองได้อย่างดี”
พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ศาลาดุสิตาลัย ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
       “ขอให้ทุกคนมีความปราถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน มีความสงบและทำงานตั้งอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความ สงบ เปรียบเทียบ กับประเทศอื่น ๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้ ฉะนั้น ถ้าท่าน ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีความคิด และมีอิทธิพลมีพลังที่จะทำให้ผู้อื่น ซึ่งมีความคิดเหมือนกัน ช่วยกันรักษาส่วนรวม ให้อยู่ดีกินดีพอสมควร ขอย้ำพอควร พออยู่พอกิน มีความสงบ ไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้จากเราไปได้  ก็จะเป็นของขวัญวันเกิดที่ถาวรที่จะมีคุณค่าอยู่ ตลอดกาล”
3.jpg
     
     2.jpgความพอประมาณ  หมายถึง  ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกิน   โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ความมีเหตุผล    หมายถึง  การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น  จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกันทีดีในตัว  หมายถึง  การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
เงื่อนไข
     การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ต้องอาศัย ทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน
 เงื่อนไขความรู้  ประกอบด้วย   ความรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง  ๆ   ที่ เกี่ยวข้อง อย่างรอบด้าน  ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณา    ให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
     เงื่อนไขคุณธรรม  ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วยมีความตระหนัก ในคุณธรรม   มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน  มีความเพียร  ใช้สติ ปัญญาในการ ดำเนินชีวิต
5.gif
     
     เศรษฐกิจพอเพียง   คือ พระราชปรัชญาซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย   เพื่อให้สังคมไทยมีชีวิตดำรงอยู่ได้ อย่างมั่นคงและยั่งยืน ไม่ว่าเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์  หรือ  การเปลี่ยนแปลงใด ๆ บนพื้นฐานวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทยนำมาประยุกต์ใช้
  “ความพอเพียง”  หมายถึง ความพอประมาณอย่างมีเหตุผล โดยสร้างภูมิ คุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร เพื่อที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว กว้างขวาง  ทั้ง ทางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี   โดย อาศัยความรอบรู้    รอบคอบ    และความระมัดระวังในการนำวิชาการต่าง ๆ     มาใช้ วางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน      ควบคู่ไปกับการสร้างพื้นฐานจิตใจของคนใน ชาติทุกระดับ ให้สำนึกในคุณธรรม  ความซื่อสัตย์สุจริต ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร ความมีสติปัญญา และความรอบคอบ มีเหตุผล
โดยที่ความพอประมาณนั้น หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มาก เกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น  เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอ ประมาณ  ความมีเหตุผล  หมายถึง   การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของพอเพียงนั้น จะ ต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล   โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดและผลที่จะ เกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
การใช้ชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงนั้น จะต้องมีความพอดี ๕ ประการ
  • ความพอดีด้านจิตใจ15.jpg
– ต้องเข้มแข็ง สามารถพึงตนเองได้
– มีจิตสำนึกที่ดี
– เอื้ออาทร ประนีประนอม
– นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
  • ความพอดีด้านสังคม
– ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
– รู้รักสามัคคี
– สร้างความเข้มแข้งให้ครอบครัวและชุมชน
  • ความพอดีด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม16.jpg
– รู้จักใช้และจัดการอย่างชาญฉลาดและรอบคอบ
– เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความยั่งยืนอย่างสูงสุด
  • ความพอดีด้านเทคโนโลยี
– รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสอดคล้องต่อความต้องการและสภาพแวดล้อม
– พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเองก่อน
– ก่อให้เกิดประโยชน์กับคนหมู่มาก
  • ความพอดีด้านเศรษฐกิจ
– เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร
– พออยู่ พอกินสมควรตามอัตภาพ และฐานะของตน
    เมื่อมีการกล่าวถึง เศรษฐกิจพอเพียง ในฐานะแนวความคิดหรือปรัชญา ในการดำรงชีวิต“ทฤษฎีใหม่” ก็มักจะได้รับการกล่าวอ้างถึงควบคู่กันเสมอในฐานะตัวอย่างหรือแนวทางในการนำ หลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติเพราะทฤษฎีใหม่ คือการเลี้ยงตัวเองได้ในระดับชีวิตที่ประหยัด มีการผลิตที่พึ่งตนเองได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ค่อยเป็นค่อยไปตามกำลัง ให้พอมีพอกินไม่อดอยาก มีการผลิต ข้าวบริโภคพอเพียงประจำปี
      หลักการของเกษตรทฤษฎีใหม่ คือ การทำไร่นาสวนผสมและการเกษตรผสมผสาน  มีการ ปลูกพืชผักสวนครัว    การทำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกและใช้วัสดุเหลือใช้มาเป็นปัจจัยการผลิตปุ๋ย เพื่อลดค่า ใช้จ่าย และบำรุงดิน    เช่น   การเพาะเห็ดฟางจากวัสดุเหลือใช้ในไร่นา   การปลูกไม้ผลสวนหลังบ้าน และไม้ใช้สอยในครัวเรือน การปลูกพืชสมุนไพร   ช่วยส่งเสริมสุขภาพอนามัย การเลี้ยงปลาในร่อง สวน ในนาข้าวและแหล่งน้ำ  เพื่อเป็นอาหารโปรตีนและรายได้เสริม การเลี้ยงไก่พื้นเมือง   และไก่ไข่ ประมาณ ๑๐-๑๕ ตัว ต่อครัวเรือน   เพื่อเป็นอาหารในครัวเรือน   โดยใช้เศษอาหาร  รำ  และปลายข้าว จากผลผลิตการทำนา     ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากการปลูกพืชไร่    และการทำก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ ที่เลี้ยงไว้ รวมทั้งการประกอบอาชีพเสริม เช่น การจักสาน ถัก ทอ แปรรูปอาหาร เป็นต้นการ
ทำการเกษตรทฤษฎีใหม่นั้น กิจกรรมทุกอย่างจะพึ่ง กันและกัน เช่น
     การเลี้ยงปลาในนาข้าว  ผลผลิตจากข้าวเป็นอาหารปลา ในขณะที่ปลาจะกินแมลงศัตรูข้าว และมูลปลาเป็นปุ๋ยต้นข้าว
     การปลูกผักกับการเลี้ยงไก่ ไก่กินเศษพืชผัก มูลไก่เป็นปุ๋ย สำหรับผัก
     การใช้ทรัพยากรในไร่นา มูลสัตว์ทำเป็นปุ๋ยคอก เศษหญ้า ใบไม้ทำปุ๋ยหมัก เศษพืชผักเป็นอาหารปลา ฟางข้าว  ใช้เพาะเห็ด
     การใช้แรงงานในครอบครัว  เพื่อลดค่าใช้จ่ายและช่วยเสริมรายได้ เช่น การแปรรูป และถนอมอาหาร     เช่น   พริกแห้ง  มะนาวดอง  กล้วยตาก  ไข่เค็ม  กระเทียมดอง  ผักดอง น้ำพริกเครื่องแกง การจักสาน หัตถกรรม สิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ เช่น ดอกไม้ ใบยาง เครื่องใช้ และเครื่องจักสานจากผักตบชวา ไม้ไผ่ กล้วย
วิดีโอ
stickerline-201412161604121
ขอขอบคุณขอมูลจาก

ขอขอบคุณวิดีโอจาก

  • stock2morrow channel
  • greentea1924